วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย


1.กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด
หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ

ที่มา:ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง. (2555) กฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.oknation.net/blog/Mchai/2009/10/07/entry-2 [11 พฤศจิกายน 2555]


2.สิทธิ คือ อำนาจที่จะกระทำการใดๆได้อย่างอิสระ โดยได้รับรองจากกฎหมาย

ที่มา: ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (๒๕๕๕). นิยามของกฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.truepookpanya.com [11 พฤศจิกายน 2555]


 3.การศึกษา คือ การเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยกระบวนการถ่ายทอดการเรียนรู้ การฝึก การอบรม การสืบสารวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรุ้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้บุคคลเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. ยืมใช้คงรูป หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืมให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

ที่มา : รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย Lawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน(ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.lawamendment.go.th/ [ 11 พฤศจิกายน 2555 ]


 5.ดุลพินิจ หมายถึง คำว่า ดุลพินิจ (อ่านว่า ดุน-ละ-พิ-นิด) ประกอบด้วยคำว่า ดุล กับคำว่า พินิจ. ดุล แปลว่า เท่ากัน, เสมอกัน, เท่าเทียมกัน. พินิจ แปลว่า การพิจารณา. ดุลพินิจ จึงมีความหมายว่า การวินิจฉัยที่สมควร, การพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม.คำว่า ดุลพินิจ ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตัดสิน เช่นผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยเสนอ แล้วจึงตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม. เมื่อเขาทำผิดก็ต้องยอมรับโทษ

ที่มา: ราชบัณฑิตยสถาน (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3892 [11 พฤศจิกายน 2555].


 6.นิติรัฐ (Legal State) นิติรัฐ หมายถึง รัฐที่ปกครองด้วย กฎหมายไม่ใช่ปกครองด้วย อำนาจบารมีกล่าวคือ ถือกฎหมายเป็นใหญ่ คนบังคับใช้กฎหมายเป็นรอง ต่างกับรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง เพราะรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง ก็ไม่แน่ว่า กฎหมายจะเป็นใหญ่หรือไม่ แต่ทั้งนี้ ทุกรัฐล้วนมีกฎหมายในการปกครองด้วยกันทั้งสิ้น จุดสำคัญอยู่ที่ว่า กรณีที่เป็นช่องว่างของกฎหมาย หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าฝ่ายปกครองถือหลักว่า เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ฝ่ายปกครองจะกระทำอะไรก็ได้ เพราะเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครอง และในขณะเดียวกัน ถ้ามีกฎหมายให้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองยิ่งจะกระทำอย่างไรก็ได้แล้ว

ที่มา: คุณสมชาย เหล่าพิทักษ์วรกุล. (2553).นิติรัฐ VS นิติธรรม (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1442 [11 พฤศจิกายน 2555].


 7.พยาน เป็นหลักฐานที่สามารถใช้นำสืบข้อเท็จจริง ประกอบกับการดำเนินคดีทางศาลและมีอยู่ สามประเภทได้แก่ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ
ที่มา: นิภารัตน์ จงจิต. (2555). การจัดการความรู้ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.thailaws.com/ [11 พฤศจิกายน 2555]

8.หน้าที่ คือ กิจที่ควรทำ กิจที่ต้องทำ

ที่มา: ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (2555). นิยามของกฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.truepookpanya.com (11พฤศจิกายน 2555)


9.โมฆียะกรรม คือ นิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วมีผลตามกฎหมาย จนกว่าจะถูกบอกล้างทำนิติกรรมนั้นเป็นโมฆะนับแต่วันแรกเริ่มทำนิติกรรม แต่ถ้ามีการให้สัตยาบันนิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรกใช้ได้ตลอดไป

ที่มา: ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (2552). กฎหมายอื่นที่ควรรู้ (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2141 [11พฤศจิกายน 2555]

10.มาตรา หมายถึง บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ

มาตรา
ที่มา: พจนานุกรม แปลภาษา (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://th.w3dictionary.org/index.phpq=%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น