วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556




1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร

ตอบ กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของคนในสังคม ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดเป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย

การบังคับใช้กฎหมายด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายถึง กฎหมายนั้นสามารถบังคับใช้ได้กับทุกคน ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันโดยที่บังคับที่ใช้กับบุคคลธรรมดา และบังคับใช้กับบุคคลที่มีอำนาจมาก ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง กฎหมายจึงจะมีความเสมอภาค ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เพื่อที่จะทำให้ทุกคนสามารถอยู่ในสังคมด้วยกันได้อย่างมีความสุข แค่นี้ก็ถือว่า เป็น การบังคับใช้กฎหมายด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ

ตอบ เห็นด้วยกับการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ที่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่ก็ยังมีหลายหน่วยงาน หลายสถานศึกษา ที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่ยังไม่มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด จึงมีการกำหนดแนวทางให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ กรณีสถานศึกษามีความจำเป็นต้องจ้างบุคคลที่ยังไม่มีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗ และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยคณะกรรมการคุรุสภาอนุมัติเป็นหลักการ มอบให้เลขาธิการคุรุสภาอนุญาตให้ผู้ขอประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบ ได้คราวละ ๒ ปี โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตาม ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป


3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง

ตอบ ดิฉันคิดว่าการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้นก่อให้เกิดผลดี ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความคิดเห็นถูกรับฟังและนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาที่สำคัญผู้ที่มีส่วนร่วมจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ซึ่งนอกจากนั้นยังมีการจัดระดมทรัพยากร เช่น งบประมาณ วัสดุ สื่อ เทคโนโลยี


4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตอบ มี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยการศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ ประกอบด้วย
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัยประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่า
ปริญญา และปริญญา


5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ แตกต่างกัน เพราะการศึกษาภาคบังคับหมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่รัฐต้องจัดให้ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เป็นช่วงเวลาสิบสองปี โดยตั้งแต่การศึกษาชั้นประถม 1 ถึงมัธยมศึกษา 6 หรือเทียบเท่า


6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง

ตอบ มาตรา ๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1. สำนักงานรัฐมนตรี

2.สำนักงานปลัดกระทรวง

3.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

4.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

5.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาคือ

1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ

2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ

3. ประสานส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด

ตอบ เข้าใจว่า ไม่กระทำผิด เพราะ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา

ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย

นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง

ตอบ วินัย คือ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดไห้ปฏิบัติตาม หรือไม่ให้ปฏิบัติ

โทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มี 5 สถาน คือ

ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง

1. ภาคทัณฑ์ เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุ

อันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน

นอกจากนี้ ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควร

งดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้

2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของ

เงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา

2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ

3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์

ความผิดวินัยร้ายแรง

4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จ

บำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ

5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จ

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน

ตอบ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

เด็ก หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสเด็กเร่ร่อนหมายถึง เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน

เด็กกำพร้า หมายถึง เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้

เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากหมายถึง เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหมายถึง เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ทารุณกรรมหมายถึง การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น